วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2025

‘ศพช.ลำปาง’ เดินหน้า โคก หนอง นา โมเดล สร้างความมั่นคงอาหาร อย่างยั่งยืน

This image is not belong to us

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นางอภิญญา โกมลรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำปาง(ศพช.ลำปาง) เปิดเผยว่า ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน(พช.) มีนโยบายในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีระบบการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็ง และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง ด้วยการน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชดำริของพระบรมชนกนาถในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล ไปสู่การปฏิบัติของพี่น้องประชาชน เพื่อการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกัน กับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในชุมชน ประเทศและภายนอกจากสังคมโลก ที่จะส่งผลต่อครอบครัว การเตรียมความพร้อมแต่ละครัวเรือนให้ได้รับการพัฒนาอย่างบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา โดยสอดคล้องกับภูมิสังคมที่แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันของปัจจัยพื้นฐาน ด้านศักยภาพ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่สมัครใจ ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมาย หมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน ให้เป็นผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” ไปขับเคลื่อนการพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินการจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน “โคก หนอง นา โมเดล” ให้เหมาะสมกับพื้นที่


This image is not belong to us


ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้รับมอบหมายจากกรมการพัฒนาชุมชน ให้เป็นหน่วยดำเนินการฝึกอบรมผู้แทนครัวเรือนพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน และจังหวัดแพร่ รวมทั้งสิ้น 369 ครัวเรือน ซึ่งหลักสูตรของการฝึกอบรมในระยะเวลา 5 วัน 4 คืน เน้นหนักในการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และทักษะจากประสบการณ์ตรง โดยมีทีมงานบุคลากรของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เป็นวิทยากร หรือเรียกว่า ครูพาทำ นำการลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชน เอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ ตามหลักทฤษฎีใหม่” โดยผู้เข้าอบรมร่วมกันลงมือปฏิบัติการในการซ่อมแซมปรับแต่งผนังคลองไส้ไก่ , การปลูกแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ , การห่มดิน , การเลี้ยงดิน แห้งชาม น้ำชาม และการปลูกป่า 5 ระดับ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการบำรุงรักษาและฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นแหล่งในการเพาะปลูกเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และน้อมนำการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ดัง ส.ค.ส. พระราชทานในปี 2547 “สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย” ด้วยการร่วมแรง ร่วมใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผ่านกิจกรรมการเอามื้อสามัคคี


This image is not belong to us


“ศพช.ลำปาง มีความเชื่อมั่น ว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทุกคน จะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการสร้างพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของตนเอง และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ต่อไป”นางอภิญญา กล่าว


แพร่

แพร่

หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การค้าวัสดุก่อสร้าง การฆ่าสัตว์ การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การปั้มโลหะ การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตน้ำแข็ง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตและบรรจุยา การรีดโลหะ ผลิตเหล็ก การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การหีบฝ้าย ปั่นนุ่น การเคลือบ ชุบ อาบขัดโลหะ การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม กิจการอื่นๆ ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริการซัก อบ รีด บริษัท มูลนิธิ ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 2 สพม.เขต 37 สมาคม สำนักงานจัดการเดินทาง หน่วยงานราชการ อบจ. อบต. เอสเอ็มอี แพร่ โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.