เมื่อวันที่28มีนาคม พ.ศ. 2564เวลา07.00น. นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในกิจกรรมผู้ว่าแพร่พาเข้าวัด ประชารัฐร่วมใจ ใฝ่รักษาศีล 5 ครั้งที่ 8 ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขจังหวัดแพร่ เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัด สดับรับฟังคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นการส่งเสริมให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม และนำหลักศีล 5 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ณ วัดปงท่าข้าม ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมีนายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอสูงเม่น นำพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมทำบุญ พระครูโกศลพิพัฒนคุณ เจ้าคณะอำเภอสูงเม่น เจ้าอาวาสวัดปงท่าข้าม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และกล่าวสัมโมทนียกถา
จากสมุดบันทึกประวัติและเหตุการณ์การสร้างวัดของพ่อมานพ นิลรวม หมอทำขวัญบ้านปงท่าข้าม ( ถึงแก่กรรมในปี 2555 ,อายุ 78 ปี) ได้บันทึกความทรงจำไว้ว่า เดิมก่อนสร้างวิหารหลังที่ 2 มีตุ๊เจ้าชื่อว่า ธรรมจัย ง็อก ปฏิบัติอยู่ที่วัดนี้มา ท่านผู้นี้มีเมตตาแผ่กว้างไปแนะนำช่วยแผ้วถางป่าหวายขึ้นที่บ้านปงป่าหวายพร้อมกับด้วยศรัทธาชาวบ้านตั้งเป็นวัดขึ้นมาจนตลอดทุกวันนี้ ราวประมาณเมื่อ พ.ศ 2437
ซึ่งตรงกับผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าวัดปงป่าหวายเป็นวัดลูกขึ้นของวัดปงท่าข้าม แล้วต่อมาพระในวัดปงท่าข้ามนี้ขาดไปไม่มีใครปกครองอยู่ พระครูจัยลังกาเป็นผู้มาริเริ่มพร้อมศรัทธาชาวพี่น้องบ้านปงท่าข้ามทุกคนได้ช่วยกันตัดไม้ตัดเสามาสร้างขึ้น ตัวท่านก็นำไปตัดเอามาพร้อมกับศรัทธาปงท่าข้ามอย่างไม่ทอดทิ้ง วิหารก็สำเร็จขึ้นด้วยดีสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ 2465 ในขณะนั้นกำนันพรม ดอกผึ้ง เป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่ในตำบลนี้ แล้วมีพ่อใหญ่ตัน จำปี เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ต่อจากนั้นมา ก็ได้สร้างกุฏิหลังหนึ่ง เป็นกระท่อมเล็ก ๆติดอยู่กับขอบรั้วด้านใต้หลังหนึ่งมีตุ๊เจ้าแก้ว ดอกผึ้งบวชขึ้นมาครอบครองอยู่แล้ว
ต่อจากนั้นมีตุ๊เจ้าตา วัดหัวดงมาอยู่ต่อแล้วต่อจากนั้นก็มีตุ๊เจ้าพรม วัดพระหลวงมาอยู่ ต่อมาในเวลานั้นมีพ่อหนานธรรมทิ เป็นอาจารย์ เรียงต่อมาก็มีพ่อต๊ะ ศฤงคารเป็นอาจารย์อยู่มาไม่นานก็ได้อุปสมบท สามเณรต๋อ เวทย์มนต์ขึ้นเป็นพระสงฆ์ ตุ๊ลุงพรม ก็กลับคืนไปอยู่บ้านหลวงตามเคย ศรัทธาวัดพงท่าข้ามก็แต่งตั้งเอาตุ๊เจ้าต๋อ ปกครองต่อมา แล้วก็ได้สร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่ง เป็นกุฏิชั่วคราว แล้วอยู่ต่อมาจนได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แล้วได้สร้างกุฏิมาตรฐานขึ้นหลังหนึ่ง อยู่ต่อมาแล้วได้สร้างกำแพงวางผังก่อเป็นกำแพงไว้รอบสี่ด้าน แต่ไม่สำเร็จ แล้วได้ผูกพัทธสีมาขึ้นในครั้งนั้น โรงเรียนหลังแรกสร้างขึ้นหน้าวัดด้านตะวันออกเมื่อราว พ.ศ. 2475
พ่อกำนันพรม พร้อมศรัทธาชาวบ้านปงได้สร้างขึ้น มีครูแสน บ้านสูงเม่น มาทำการสอนอยู่ประจำ รองลงมาก็มีครูนาค บ้านพระหลวงมาทำการสอน ต่อจากนั้นมีครูใหญ่เลิศ กล่าวแล้ว : ครูใหญ่คนที่ ๒ ปีพ.ศ. 2486 – 2505 โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม (จากสมุดหมายเหตุรายวัน โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม หน้า 3 ) สอนติดต่อมาเรื่อย ๆ ( บันทึกของพ่อมานพ นิลรวม
ข้อมูลตามสมุดบันทึกของพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ ไวยาวัจกรวัดปงท่าข้าม ปี 2515 อายุ 84 ปี (บันทึกพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ ได้บันทึกรายนามพระภิกษุและเจ้าอาวาสวัดพงท่าข้ามตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ไว้ดังนี้ 1. พระอนันต๊ะ บ้านดอนมูล พ.ศ. 2436, 2 พระมูล บ้านกวาง พ.ศ.2440, 3. ครูบาไจยลังกา บ้านพระหลวง พ.ศ. 2444, 4. พระตา บ้านหัวดง พ.ศ. 2446, 5. พระผาบ บ้านโตนเหนือ พ.ศ.2450, 6. พระแก้ว บ้านแหง พ.ศ.2453, 7. พระผัด บ้านพระหลวง พ.ศ.2455, 8. พระปัน บ้านปง พ.ศ.2457, 9. พระอินทร์ บ้านปง พ.ศ.2460, 10. พระแก้วหู ดอกผึ้ง บ้านปง พ.ศ.2463, 11. พระพรหม บ้านพระหลวง พ.ศ. 2466, 12. พระแก้ว บ้านเจียงคำ พ.ศ. 2467, 13. พระพรหม บ้านพระหลวง พ.ศ. 2469 (มาอยู่อีก), 14. พระอธิการต๋อ เวทย์มนต์ บ้านปง พ.ศ. 2470 ( เป็นเจ้าอาวาส ), 15. พระเหรียญ กึกก้อง บ้านโตน พ.ศ. 2491, 16. พระแก้ว ขยายเสียง บ้านปง พ.ศ.2492, 17. พระจำปี ฟุ้งเฟื่อง บ้านปง พ.ศ. 2495,18พระมานพ นิลรวม บ้านปง พ.ศ. 2497 ( ผู้บันทึกข้อมูลวัด), 19. พระเวทย์ ศฤงคาร บ้านปง พ.ศ. 2501, 20. พระอธิการสุคำ ถาวโร บ้านปง พ.ศ.2507 (เจ้าอาวาส),21พระมา โกษา บ้านปง พ.ศ.2512, 22.พระเชือ ขยายเสียง บ้านปง พ.ศ.2513,23พระประเสริฐ โชติปัญโญ บ้านปง พ.ศ.2516, พระอธิการสมบูรณ์ ฉันทกโร บ้านปง พ.ศ.2517 (เจ้าอาวาส) 25. พระอธิการบรรจง รัตนโชโต บ้านปง พ.ศ. 2525 (เจ้าอาวาส) 26. พระครูโกศลพิพัฒนคุณ (เสนาะ กตสาโร) พ.ศ.2533 ถึงปัจจุบัน