



หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง เป็นหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง ที่มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ ผ้าหม้อห้อม ซึ่งถือกันว่ามีเนื้อดี ทนทาน และสวยงาม นักท่องเที่ยว นิยมซื้อหาไว้ เป็นของที่ละลึก การเดินทาง ใช้เส้นทางสาย แพร่–น่าน ไปเพียงประมาณ 4 กิโลเมตร หมู่บ้านนี้แต่เดิมเป็นบ้านของชาวไทยพวน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่และจากการค้นคว้าในหนังสือประวัติศาสตร์พบว่า อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงราย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ พ.ศ. 2360-2380 ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง หรือชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโฮ้ง “คำว่าทั่ง” หมายถึง ทั่วที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า “โห้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึงสถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนว่า “มันโห้งลงไป” สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน เขาจึงเรียกว่า “บ้านทั่งโห้ง” ส่วนคำว่า “ทุ่งโฮ้ง” คงจะเป็นคำเพี้ยงจากคำว่า “ทั่งโห้ง” อาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง คือการทำผ้าหม้อห้อมแท้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม (OTOP Village Champion Handicrafts Tourism) “หม้อห้อม” เป็นคำพื้นเมือง จากคำสองคำคือ “หม้อ” และ “ห้อม” หม้อ เป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำ หรือของเหลวมีทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนห้อมนั้น เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ลำต้นและใบมาหมัก ในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้เป็นสีกรมท่าโดยนำผ้าขาวไปย้อมให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกว่า “ผ้าหม้อห้อม” ผ้าหม้อห้อม เป็นชุดแต่งกายประจำถิ่นของชาวแพร่ และชาวบ้านทุ่งโฮ้งที่สวมใส่ ในชีวิตประจำวัน และงานประเพณีต่าง ๆ จึงถือเป็นเอกลักษณ์เลยทีเดียว ใครที่สนใจพักค้างคืน ที่หมู่บ้านแห่งนี้เพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างลึกซึ้งก็สามารถติดต่อทางหมู่บ้านเพื่อพักแรมที่ Home Stay ได้ Blog ท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ร้านชิค ๆ ในแพร่10 สุดยอดสถาปัตยกรรมอาคารเก่าแก่ในเมืองแพร่วัดเก่าแก่ในเมืองแพร่