อบจ.แพร่ โดยนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายก อบจ.แพร่ มอบหมายให้นายเสรี ทรงศักดิ์ เลขานุการ นายก อบจ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองช่าง อบจ.แพร่ เข้าดำเนินการปรับพื้นที่บริเวณวัดหลวง เพื่อรองรับโครงการของ นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่จะดำเนินการสร้าง ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ ณ วัดหลวง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ โดยมีพระครูโสภณพัฒนานุยุต เจ้าคณะตำบลในเวียงเขต 2 เจ้าอาวาสวัดหลวง เมตตานำดูสถานที่
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า “ท้าวกุเวร” ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก “ท้าวไพสพ” เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อันประกอบไปด้วย “พระอินทร์” (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , “พระยม” (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ “พระวรุณ” (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก และเพราะ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูร ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก
คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน
ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน
ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง
ในประเทศไทยมีคติการบูชาท้าวเวสวัณอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า พระไพศรพณ์ ตามนามในภาษาสันสกฤต ไวศฺรวณ มือขวาถือตะบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้ (เทวดา) ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์ ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของอัยการมานาน คาดว่าตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้วเนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์ในสวรรค์ แต่ยังตรวจไม่พบหลักฐานว่าได้มีประกาศเป็นทางการให้ใช้รูปพระไพศรพณ์เป็นเครื่องหมายราชการของอัยการตั้งแต่เมื่อใด
มีความเชื่อกันว่า ผู้ใดห้อยบูชาท้าวเวสสุวรรณ จะบังเกิดโชคลาภมากมาย ร่ำรวยเงินทอง มีกินมีใช้ไม่ขาดแก้ปีชง เสริมปีชง เทพแห่งปีชง ป้องกันภัยจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ป้องกันภูติ ผีวิญญาณต่างๆไม่กล้ามาทำอันตรายใดๆให้กับคนในครอบครัว ในร้านนั้นๆ เพราะภูติผีปีศาจ ยักษ์ เป็นบริวารท้าวเวสสุวรรณ คนมีลูกเพิ่งคลอด หรือมีเด็กเล็ก มักนิยมบูชาท้าวเวสสุวรรณ ตั้งไว้ตรงที่เด็กนอนหลับ เพราะมีความเชื่อว่าภูติผีปีศาจจะไม่กล้ามารบกวนเด็ก เพราะท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้ปกครองแห่งภูติผีปีศาจนั่นเอง จึงแนะนำคนที่มีลูกอ่อน ลูกเล็ก หากชอบร้องไห้ตอนกลางคืน ไม่หลับไม่นอนเหมือนมีอะไรมารบกวนเด็ก และยังสามารถกันภูติผีปีศาจคุณไสย์มนต์ดำได้หมด
ในตำราโบราณได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดต้องการ ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา สูงสุดทางมหาเศรษฐีมีทรัพย์ ลาภยศ สรรเสริญสุข ไหลมาไม่ขาดสาย และขจัด ภูตผีปีศาจ สิ่งอัปมงคลไม่กล้าเข้ามารบกวน และช่วยบันดาลโชคลาภโภคทรัพย์ให้แก่ผู้บูชา