คุณภาพชีวิต-สังคม
23 ก.ย. 2564 เวลา 14:15 น.
ศบค. แถลงสถานการณ์ “โควิด-19” ติดเชื้อรายใหม่ 13,256 ราย เสียชีวิต 131 ราย ต่างจังหวัด 71 จังหวัด แนวโน้มยังต้องเฝ้าระวัง ขณะที่กทม. สัดส่วนติดเชื้ออยู่ที่ 33%
ศบค. แถลงสถานการณ์ “โควิด-19” ติดเชื้อรายใหม่ 13,256 ราย เสียชีวิต 131 ราย ต่างจังหวัด 71 จังหวัด แนวโน้มยังต้องเฝ้าระวัง ขณะที่กทม. สัดส่วนติดเชื้ออยู่ที่ 33%
วันนี้ (23 ก.ย. 64) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด พบ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 13,256 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศและต่างประเทศ 12,778 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 478 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 1,524,613 ราย
โดยวันนี้มี ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 131 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 15,790 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 15,884 ราย ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 128,367 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 3,422 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 747 รายยอดผู้ป่วยหายป่วยกลับบ้านวันนี้ 13,829 ราย สะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มี 1,352,936 ราย
- เด็ก 2 เดือน เสียชีวิต
รายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 131 ราย พบว่า เป็นชาย 64 ราย หญิง 67 ราย ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไป 94 ราย คิดเป็น 72% มีโรคเรื้อรัง 23 ราย คิดเป็น 17% ทั้งสองกลุ่มคิดเป็น 87% นอกจากนี้ ยังมีเด็ก 2 เดือน เสียชีวิต 1 ราย เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด
- 10 จังหวัดติดเชื้อรายใหม่สูงสุด
สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23 ก.ย. 64 จำนวน 10 อันดับ พบว่า อันดับ 1 ยังคงเป็น กทม. ติดเชื้อรวมกว่า 2,456 ราย รองลงมา ได้แก่ สมุทราปราการ ชลบุรี ยะลา ระยอง นครศรีธรรมราช นราธิวาส สงขลา สมุทรสาคร และราชบุรี ตามลำดับ
- กทม. ติดเชื้อคิดเป็น 33%
จำนวนผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อในชุมชนราวัน กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด และภาพรวมประเทศ ระลอก เมษายน 2564 พบว่า กทม.ปริมณฑล 5 จังหวัด ติดเชื้อสัดส่วน 33% ขณะที่ ต่างจังหวัด 71 จังหวัด ติดเชื้อสัดส่วน 67%
- “71 จังหวัด” แนวโน้มยังต้องเฝ้าระวัง
ทั้งนี้ หากดูจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ และสะสม วันที่ 1 เม.ย. – 23 ก.ย. 64 พบว่า แนวโน้มภาพรวมยังมีช่วงที่ลดลง และเพิ่มขึ้น ขณะที่ กทม.ปริมณฑล นับว่ามีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกัน 71 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 19 จังหวัด ภาคใต้ 4 จังหวัด และจังหวัดอื่นๆ อีก 48 จังหวัด ยังคงมีแนวโน้มที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง
- “อัตราตาย” ไทย 227 รายต่อล้านประชากร
สำหรับสถานการณ์ในทวีปเอเชีย พบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ และไทย โดย “อัตราป่วย” ของไทยอยู่ที่ 21,776 ต่อล้านประชากร “อัตราตาย” อยู่ที่ 227 รายต่อล้านประชากร
- ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 46.6 ล้านโดส
จำนวนการได้รับ “วัคซีนโควิด-19” สะสม (28 ก.พ. – 22 ก.ย. 2564) รวม 46,669,535 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 29,741,899 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 16,303,999 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 623,637 ราย
- ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 22 กันยายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 646,519 โดส
เข็มที่ 1 : 240,789 ราย
เข็มที่ 2 : 404,841 ราย
เข็มที่ 3 : 889 ราย