ผลิตภัณฑ์ / ตราสินค้า :
เจ้าของบริษัท/ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายข้อมูล มีความสนใจที่จะลงโฆษณา ยี่ห้อสินค้า, ผลิตภัณฑ์, ตราสินค้า หรือปรับฐานข้อมูลให้ ล่าสุด ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล์
ข้อมูล : พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่คุ้มเจ้าหลวง อยู่ถนนคุ้มเดิม ตำบลในเวียง ตรงข้ามโรงเรียนนารีรัตน์ ด้านหลังพิพิธภัณฑ์เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 โดยเจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่คนสุดท้าย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากฝีมือช่างชาวจีนและช่างพื้นบ้าน สถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป เป็นทรงขนมปังขิงที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 สร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ประดู่ไม้แก่น ไม้แดง เป็นต้น และใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาเพื่อทำฐานรองรับหลังคา ด้านตัวหลังคามุงด้วยไม้ที่เรียกว่า “ไม้แป้นเกล็ด” ส่วนหลังคามีลักษณะเป็นแบบทรงปั้นหยามีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาไม่มีหน้าจั่ว ตัวอาคารโอ่โถงมีประตูหน้าต่างทั้งหมด 72 บาน มีความงดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลมและชายคาน้ำ ส่วนรอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ โดยแต่ละชั้นจะมีการจัดแสดงที่แตกต่างกันไป คือ ชั้นบน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและสักการะรูปปั้นของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ นอกจากนี้ยังมีการจำลองห้องบรรทมของเจ้าหลวงเมืองแพร่ในอดีต ชั้นล่างเป็นห้องจัดแสดงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของเมืองแพร่ ข้าวของเครื่องใช้ตามธรรมเนียมประเพณีเจ้านายฝ่ายเหนือ ห้องว่าราชการของเจ้าหลวงเมืองแพร่ในอดีต ห้องแสดงประวัติเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์และบุคคลที่เกี่ยวข้องประวัติของจังหวัดแพร่ในอดีตและชั้นใต้ดิน แบ่งออกเป็นสามห้อง ห้องปีกซ้ายเป็นที่คุมขังทาส ห้องปีกขวาใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ ห้องทั้งสองมีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ส่วนห้องตรงกลางเป็นห้องทึบไม่มีแสงสว่างใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารและนักโทษที่ทำความผิดร้ายแรง คุ้มแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่ ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501 และอีกหลายพระองค์ อาคารแห่งนี้ได้รับพระราชทานรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จังหวัดแพร่ประกาศให้พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่คุ้มเจ้าหลวงเป็นสถานที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ หากเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานคุ้มเจ้าหลวง โทร. 0 5452 4158
ประเภท : แหล่งท่องเที่ยว
โทรศัพท์ :
โทรสาร :n/a
อีเมลล์ :
เว็บไซท์ :
จุดเด่น :